ที่มาของกิจกรรม

U Power: Digital Idea Challenge เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้ Digital Technology Demand Generation ความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) โดยได้ตระหนักถึงการประยุกต์การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อทำโจทย์แผนการตลาดของสินค้าและบริการจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำ เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสได้ศึกษาพร้อมทำจริง แผนการตลาดโดยใช้สื่อดิจิทัล และความสำเร็จของแผนจากการทำจริงในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผน (2) ในเรื่องของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และ (5) พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการจุดประกายความคิด โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และฝึกฝนกับนักศึกษา เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีแนวทางในการทำธุรกิจที่มีคุณภาพสูง สามารถผนึกเอา Digital technology มาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างไร้ขีดจำกัด และได้ทดลองปฏิบัติจริงตามแผน เพื่อพิสูจน์ว่าผลงานนั้นสามารถใช้งานได้จริง ป้อนบุคลการสู่อุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อรองรับ Digital Economy ของรัฐบาล โดยทางสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ในนามเจ้าภาพร่วมฯ ได้มีการประชุมหารือร่วมกันถึงการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในทำผลงานสำหรับการแข่งขันในปีนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในเรื่องของการนำเอาดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา จึงขอแจ้งปรับเปลี่ยนวิธีการทำผลงานในรอบที่ 1 โดยเพิ่มการนำเอาโปรแกรมแชทบอท Chat GPT สุดล้ำที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้มาใช้ในการเขียนแผนการตลาดดิจิทัล


กำหนดการ

เปิดรับใบสมัคร แนะนำ และประชาสัมพันธ์กิจกรรม 1 มกราคม 2567
ปิดรับใบสมัคร 9 กุมภาพันธ์ 2567
ประกาศโจทย์ในการแข่งขัน 12 กุมภาพันธ์ 2567
รับฟังการบรรยายโจทย์การแข่งขันกับทางแบรนด์ (Online) 14 กุมภาพันธ์ 2567
Generative AI Briefing & Training (Online) 17 กุมภาพันธ์ 2567
Generative AI for Marketing (Online) 20 กุมภาพันธ์ 2567
ส่งผลงานรอบที่ 1 27 กุมภาพันธ์ 2567
ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบที่ 2 ทางเฟสบุ๊ค 11 มีนาคม 2567
Customer insight to action (Online) 12 มีนาคม 2567
Coaching บ่มเพาะเชิงลึกกับทางแบรนด์ (Online) 13 มีนาคม 2567
Generative AI in Actions (Online) 18 มีนาคม 2567
ส่งผลงานรอบที่ 2 4 เมษายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศทางเฟสบุ๊ค 24 เมษายน 2567
นำเสนอผลงานรอบ The Winner Award ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ 15 พฤษภาคม 2567


คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

คุณสมบัติ

  1. ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า) สมาชิกในทีม จำนวนไม่เกิน 5 คน (ไม่จำกัดมหาวิทยาลัย คณะ สาขาวิชา และชั้นปีการศึกษา)
  2. แต่ละทีมจะต้องมีอาจารย์จากสถาบันนั้น ๆ ลงนามรับรองในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาและถือเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในทีม (อาจารย์ 1 ท่าน สามารถลงนามรับรองในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับทีมที่เข้าแข่งขันได้มากกว่า 1 ทีม)
  3. มีสถานะเป็นนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย ณ วันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
  4. นิสิต นักศึกษาทั้งหมดที่สมัครร่วมโครงการรับฟังรายละเอียดโครงการ และเข้ารับฟังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  5. นิสิตนักศึกษาเลือกสินค้า/บริการ 3 โจทย์ จากโจทย์ในการแข่งขันทั้งหมดที่ทางโครงการมีให้ จากนั้นคณะกรรมการจะแจ้งกลับว่าจาก 1 ใน 3 ที่ท่านเลือกจะได้รับโจทย์อะไร และจึงเริ่มทำผลงาน
  6. ประกาศผลทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 1
  7. เข้าร่วมกิจกรรม Briefing Student Day
  8. เข้าร่วมกิจกรรม Jump Start Camp
  9. ทีมที่ผ่านการคัดเลือกนำแผนฯ ปรับปรุงแผนฯ และจะได้รับเงินสนับสนุน 20,000 บาท เพื่อไปดำเนินกิจกรรมตามแผนการตลาดที่เลือกมา ให้เกิดขึ้นเป็นแบบแผนฯตัวอย่างจริง
  10. นำเสนอแผนฯ ที่ดำเนินกิจกรรม สรุปผลงานที่ดำเนินการ ต่อหน้าคณะกรรมการ เพื่อตัดสิน ประกาศผล
  11. ประกาศผลทีมที่ได้รับรางวัล
  12. พิธีประกาศผลและมอบรางวัล
  13. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างสรรค์แผนการตลาดดิจิทัลขึ้นด้วยตนเอง ห้ามมิให้ทำซ้ำ คัดลอก เลียนแบบ หรือ ดัดแปลงจากของผู้อื่น
  14. ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) มีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด และสามารถขอสำเนาเอกสารรับรองยืนยันในส่วนต่างๆ ได้ตลอดการแข่งขัน หากทีมหรือสมาชิกภายในทีมมีคุณสมบัติไม่ตรงกับกฏระเบียบการแข่งขันให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำผิดกฎกติกาที่ตั้งไว้ จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที คณะผู้จัดงาน รวมถึงสปอนเซอร์แต่ละแบรนด์ มีสิทธิ์ในการนำแผนการตลาดดิจิทัล ภาพจากการทำกิจกรรมการแข่งขัน ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ รวมไปถึงแผนรณรงค์ที่ได้ทำการประกวดไปใช้ โดยไม่ต้องให้ผู้สมัครทราบ โดยผลงานจะเป็นในส่วนที่ผ่านเข้ารอบที่ 2
  15. ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนผลงาน ของคณะนักศึกษาผู้ส่งผลงานเข้าประกวด และสามาถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และหรือเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนได้ทุกรูปแบบ อาทิ ภาพนิ่ง วิดีทัศน์ โดยปราศจากข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น โดยลิขสิทธิ์ผลงานถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างเจ้าของโครงการฯ องค์กรร่วมสนับสนุน คณะนักศึกษาผู้ส่งผลงาน และสถาบันของนักศึกษาที่ส่งผลงาน
  16. ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ไม่สนับสนุนการคัดลอกผลงาน หรือ คัดลอกเนื้อหามาโดยไม่ได้รับการอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หากตรวจพบถือว่าขาดคุณสมบัติในการแข่งขัน ถือว่าสละสิทธิ์การแข่งขัน และรับรางวัล แม้จะประกาศผลไปแล้ว ทางคณะกรรมการฯ สามารถเรียกคืนรางวัลได้
  17. ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) และคณะกรรมการดำเนินการโครงการ ไม่ขอรับผิดชอบความถูกต้องของเนื้อหา และที่มาของเนื้อหา ในการนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ หรือเมื่อได้เผยแพร่ข้อมูลการนำเสนอของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
  18. คณะนักศึกษา ผู้ส่งใบสมัคร และร่วมนำเสนอผลงาน ถือว่าได้รับทราบ และยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว

วิธีการส่งผลงาน

รอบที่ 1

  • แผนการตลาดดิจิทัลในรูปแบบของ Power Point (บันทึกไฟล์ PDF)
  • คลิปวิดีโอนำเสนอรายละเอียดแผนการตลาด (ความยาวไม่เกิน 7 นาที)
  • โดยผลงานทั้ง 2 รูปแบบ จะต้องอัปโหลดลง Google Drive รวมเป็น 1 โฟลเดอร์ เปิดลิงก์เป็นสาธารณะเท่านั้น และส่งกลับมาที่ Contest@duga.or.th (หัวข้ออีเมลให้ระบุ : ชื่อทีม / มหาวิทยาลัย / แบรนด์ที่ได้รับ และตามด้วย U Power SS7 Round 1)

รอบที่ 2

  • แผนการตลาดดิจิทัลในรูปแบบของ Power Point (บันทึกไฟล์ PDF)
  • คลิปวิดีโอนำเสนอรายละเอียดแผนการตลาด (ความยาวไม่เกิน 15 นาที)
  • โดยผลงานทั้ง 2 รูปแบบ จะต้องอัปโหลดลง Google Drive รวมเป็น 1 โฟลเดอร์ เปิดลิงก์เป็นสาธารณะเท่านั้น และส่งกลับมาที่ Contest@duga.or.th (หัวข้ออีเมลให้ระบุ : ชื่อทีม / มหาวิทยาลัย / แบรนด์ที่ได้รับ และตามด้วย U Power SS7 Round 2)


เกณฑ์การตัดสินผลงานทั้ง 3 รอบ

รอบที่ 1

● การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด 10 คะแนน
● ความสมบูรณ์ของแผนการตลาด 25 คะแนน
● ความคิดสร้างสรรค์ 25 คะแนน
● แผนการตลาดที่สามารถทำได้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย 20 คะแนน
● การนำ Gen AI มาประยุกต์ใช้ในแผน 20 คะแนน

รอบที่ 2

● การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและตัวชี้วัด 10 คะแนน
● ความสมบูรณ์ของแผนการตลาด 15 คะแนน
● ความคิดสร้างสรรค์ และการนำเสนอ 20 คะแนน
● ผลความสำเร็จของการทำ Digital marketing 35 คะแนน
● การนำ Gen AI มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม 20 คะแนน

รอบชิงชนะเลิศ

● ความสำเร็จของแผนและผลจากการตลาด 35 คะแนน
● ความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการนำเสนอ 15 คะแนน
● แผนงานต่อเนื่องของแคมเปญ 10 คะแนน
● Commercial Possibility by Sponsor (แบรนด์จะนำแผนแคมเปญดังกล่าวไปใช้จริง) 20 คะแนน
● การนำ Gen AI มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม 20 คะแนน


ประเภทรางวัลสำหรับการแข่งขัน


รางวัลชนะเลิศ

  • ทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (MDES) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

  • ทุนการศึกษา จำนวน 40,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (MDES) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

  • ทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (MDES) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

  • ทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (MDES) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)

รางวัล The Best Idea (1 รางวัล)

  • ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)

รายละเอียดการเขียนแผนเพื่อประกอบการตัดสินผลงาน

ส่วนที่ 1

ที่มาและความสำคัญบทวิเคราะห์สถานการณ์การตลาด

  • ที่มาความคิดของแผนการตลาด (Idea Background)

ส่วนที่ 2

รายละเอียดแผนการตลาดดิจิทัลสำหรับ 3 สัปดาห์ (โดยประมาณ) ด้วยงบประมาณ 20,000 บาท

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มเป้าหมายรอง (Target Market)
  • การวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience Analysis)
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด และสภาวะการแข่งขัน (Market Analysis) ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น การวิเคราะห์ตลาด และสภาพแวดล้อมคู่แข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • วิเคราะห์ SWOT (จุดแข็ง / จุดอ่อน / โอกาส /ข้อจำกัด)
  • วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของยอดขาย (Sale Objectives)
  • การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning Strategy)
  • กำหนดช่องทางการสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication Channel)
  • นำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดเน้นการสื่อสารด้านดิจิทัล (Digital Marketing Objective and Strategy)
  • นำเสนอแนวทางการจัดทําแผนการดําเนินงาน (Action Plan) ที่แสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ ที่มีความเป็นได้และใช้งานได้จริง
  • ตารางเวลาในการปฏิบัติแคมเปญ + กิจกรรม ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ (Project + Campaign Schedule)
  • ที่มาของการนำ ChatGPT มาประยุกต์ใช้ในแผนงานจริง

ส่วนที่ 3

การจัดสรรงบประมาณ 20,000 บาท

  • รายละเอียดการจัดสรรการดำเนินแผนการตลาดดิจิทัล ภายใต้งบประมาณ 20,000 บาท ในการปฏิบัติกิจกรรมระยะเวลา 3 สัปดาห์

ส่วนที่ 4

แผนการวัดผล

  • ตั้งตัวชี้วัด และนำเสนอวิธีการวัดผลการจัดกิจกรรมและติดตามผลทางการตลาดของแต่ละกิจกรรม (KPI)

ส่วนที่ 5

รายละเอียดแผนการตลาดดิจิทัลระยะยาวสำหรับ 1 ปี (1 Year Growth Plan)

  • นำเสนอกิจกรรม และกลยุทธ์ทางการตลาดเน้นการสื่อสารด้านดิจิทัล (Digital Marketing Strategy) พร้อมระบุงบประมาณ เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแผน 3 สัปดาห์

ส่วนที่ 6

สรุป

  • สรุปผลที่คาดว่าจะได้รับ Marketing Impact จากแผนการตลาดดิจิทัล และกิจกรรม
  • ระบุรายชื่อทีมงาน และบทบาทหน้าที่ของสมาชิก

โจทย์ที่ทุกทีมจะต้องตอบคำถาม นำเสนอเป็น VDO Clip ความยาวไม่เกิน 7 นาที (ไม่จำกัดรูปแบบในการนำเสนอ)

  1. ที่มาความคิดของแผนการตลาด คืออะไร?
  2. ชื่อแผนการตลาดหรือชื่อแคมเปญ
  3. กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มเป้าหมายรอง
    • การวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย
  4. ช่องทางการสื่อสารทางการตลาด
    • กลยุทธ์ทางการตลาดเน้นการสื่อสารด้านดิจิทัล
  5. แผนการตลาดดิจิทัลสำหรับ 3 สัปดาห์ (โดยประมาณ) ด้วยงบประมาณ 20,000 บาท
    • แนวทางการจัดทำแผนการดำเนินงาน
    • ตารางเวลาในการปฏิบัติแคมเปญ + กิจกรรม
    • รายละเอียดการจัดสรรการดำเนินแผนการตลาดดิจิทัล
  6. ตั้งตัวชี้วัด และนำเสนอวิธีการวัดผลการจัดกิจกรรม (KPI)
  7. แนวทางในการต่อยอดสำหรับแผนการตลาดดิจิทัลระยะยาวสำหรับ 1 ปี
  8. สรุปผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนการตลาดดิจิทัล และกิจกรรม


คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการและตัดสินผลงาน


ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์

รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ประธานที่ปรึกษา)
 

คุณขนิษฐา ตั้งวรพจน์วิธาน

อุปนายกสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)
ที่ปรึกษาสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และ Executive Consultant INTAGE Thailand & Experience Matters
(กรรมการ)

คุณอัญชลี ชัยชนะวิจิตร

ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
(กรรมการ)

คุณสุภาวดี ตันติยานนท์

นายกสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)
อุปนายกฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และ Founder Experience Matters Co., Ltd
(กรรมการ)

คุณโศรดา ศรประสิทธิ์

เลขาธิการสมาคมโฆษณาดิจิทัลประเทศไทย (DAAT)
และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย (Chief Executive Officer, Publicis Groupe Thailand)
(กรรมการ)
 

Sponsored by

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

บริษัท แอ๊บโซลูทท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้บริหารโครงการฯ)
159/21 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทรศัพท์ : 02-661-7750 ต่อ 215, 216
E-mail : Contest@duga.or.th
เฟซบุ๊ค : U Power Digital Idea Challenge
Line OA : @duga.uni